ตะกร้อ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
ตะกร้อ เป็นลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา ๆ สำหรับเตะ สานด้วยหวายระหว่าง ๖ ถึง ๑๐ เส้น (ปัจจุบันหวายเริ่มหายากจึงได้คิดทำตะกร้อด้วยพลาสติก แต่ยังคงลักษณะเดิมที่เป็นหวายไว้)
ขนาด เส้นรอบวง ตั้งแต่ ๓๘ เซนติเมตร ถึง ๔๒ เซนติเมตร
น้ำหนัก อย่างต่ำ ๑๒๐ กรัม ไม่เกิน ๒๐๐ กรัม (เซปัคตะกร้อน้ำหนักไม่เกิน ๔๐๐ กรัม)
การเล่นตะกร้อ คนเล่นไม่จำกัดจำนวน เล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร
วิธีการเล่น
การเล่นหมู่ ผู้เล่นจะล้อมเป็นวงผู้เริ่มต้นจะใช้เท้าเตะลูกตะกร้อไปให้อีกผู้หนึ่งรับ ผู้รับจะต้องมีความว่องไวในการใช้เท้ารับและเตะส่งไปยังอีกผู้หนึ่ง จึงเรียกว่าวิธีเล่นนี้ว่าเตะตะกร้อ ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อที่จะเตะไปยังผู้ใด ถ้าผู้เล่นทั้งวงมีความสามารถเสมอกัน จะโยนและรับไม่ให้ตะกร้อตกถึงพื้นได้เป็นเวลานานมาก แต่ผู้เล่นยังไม่ชำนาญก็โยนรับไม่กี่ครั้งลูกตะกร้อก็ตกถึงพื้น
ในปัจจุบันกีฬาตะกร้อที่แข่งขันกันสำหรับคนไทย คือ ตะกร้อลอดบ่วงส่วนที่มีการแข่งขันถึงระดับนานานาชาติ คือ ตะกร้อข้ามตาข่าย ซึ่งเปลี่ยนชื่อเรียกตามกติกากีฬาแหลมทองที่เรียกว่า เซปัคตะกร้อ
ตะกร้อลอดบ่วง กีฬาประเภทหนึ่งที่มีบ่วงอยู่เบื้องสูง ผู้เล่นจะเตะตะกร้อให้โด่งเข้าไปในบ่วง สนามที่ใช้ในการแข่งขันเป็นพื้นราบกว้าง ๑๘ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๖ เมตร อยู่กลางแจ้ง จะแขวนห่วงชัย (ประกอบด้วยวงกลม ๓ ห่วง ขนาดเท่ากัน เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๐ เซนติเมตร แขวนให้สูงจากพื้น ๕.๗๕ เมตร)มีผู้เล่น ๑ ชุดไม่เกิน ๗ คน แข่งชุดละ ๔๐ นาที การเตะให้ลูกเข้าห่วงชัย ซึ่งใช้ท่าเตะ ๓๐ ท่า แต่ละท่ามีคะแนนมากน้อยตามความยากง่ายของท่าเตะ
เซปัคตะกร้อ สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ๑๓.๔๒ กว้าง ๖.๑๐ เมตร อยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ มีตาข่ายขึงตรงกลาง กว้าง ๐.๗๖ เมตร ถึง ๑.๒๒ เมตร สูงจากพื้นดิน ๑.๕๒ เมตร กลางสนามทั้ง ๒ ด้านจะมีวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๐ เซนติเมตร สำหรับยืนส่งลูก
มีผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละ ๓ คน แต่ละเกมส์มี ๑๕ คะแนน แข่งขันกัน ๒ เกมส์ ถ้าเสมอกันให้แข่งอีก ๑ เกมส์ ใครชนะถือว่าเป็นสิ้นสุด
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
ตะกร้อ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งสำหรับผู้ชาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการออกกำลังในชีวิตประจำวัน มักจะติดวงเล่นกันตามลานบ้านหรือลานวัด แต่ในปัจจุบันจัดเป็นกีฬาประเภทออกกำลังกาย เพราะมีการแข่งขันกันทั้งระดับชาติและระดับนานาประเทศ
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การเตะตะกร้อเป็นการเล่นที่ผู้เล่นได้ออกกำลังกายทุกสัดส่วนฝึกความว่องไว ความสังเกต มีไหวพริบ ทำให้มีบุคลิกภาพดี มีความสง่างามและการเล่นตะกร้อนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง
หมากเก็บ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์สำหรับเล่น คือ ก้อนหิน หรือก้อนกรวดที่มีลักษณะกลม ๆ
วิธีการเล่น
ใช้สิ่งสมมติเป็นหมาก ๕ ก้อน เริ่มต้นด้วยการทอด คือ การเทปล่อยให้หมากทั้ง ๕ กระจายไปบนพื้นกระดาน ถ้าก้อนไหนอยู่ห่างถือเป็นตัวนำและขึ้นต้นด้วยหมากหนึ่ง คือ หยิบนำลูกไว้ต่างหากโยนขึ้นไป แล้วปล่อย ๔ ลูกกระจายบนพื้น ทีละลูก และรับลูกที่โยนให้ได้ในขณะเดียวกัน ถ้าเก็บได้หมดก็ต่อหมาก ๒ หมาก ๓ หมาก ๔ ต่อไป ด้วยวิธีเล่นแบบเดียวกัน แต่ถ้าเก็บลูก ๓ ลูกพร้อมกัน เรียกว่า หมาก ๓ แล้วจึงเก็บอีก ๑ ลูก ถ้ารวมหมดเรียกว่า หมาก ๔ และลูกโยนนั้นจะตกไม่ได้ ถ้าตกนับเป็นตาย ต้องให้คนอื่นเล่นต่อไป หมากเก็บนี้มีวิธีเล่นพลิกแพลงหลายอย่าง เช่น การใช้มือซ้ายป้องและเขี่ยหรือเก็บหมากให้เข้าในมือทีละลูก ทีละ ๒ ๓ ๔ ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าก็นับเป็นตาย ยังมี "อีกาออกรัง" "รูปู" ซึ่งใช้มือซ้ายรูปต่าง ๆ ถ้าใช้นิ้วกลางและหัวแม่มือยืนพื้น นิ้วอื่นปล่อยเป็นรูปเหมือนซุ้มประตู ก็เรียกว่า "อีกาออกรัง" ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วแม่มือขดเป็นวงกลมนิ้วชี้ชี้ตรง นิ้วนอกนั้นยันพื้นเป็นรูปเหมือนรูปู ก็เรียก "รูปู" ผู้เล่นต้องเก็บหมากลงในรูปู หรือเขี่ยออกนอกรังในขณะที่รับลูกโยนให้ได้พร้อมกัน การละเล่นชนิดนี้ต้องอาศัยการคาดคะเนให้ดี ในขณะโยนลูกว่าควรจะสูงต่ำเพียงใด ในการโปรยลูกว่าถึงกำหนดต้องเก็บเท่าไร จะได้โปรยให้หมากเหล่านั้นอยู่ชิดหรือห่างกันอย่างไร เพราะถ้ามือที่เก็บไปถูกหมากอีกลูกหนึ่ง ซึ่งไม่ได้อยู่ในแม่ที่กำหนดไว้ก็ถือเป็นตายเหมือนกัน เช่น หมากหนึ่ง ถ้าไม่โปรยให้ห่างกันเกิดมีหมาก ๒ ลูกไปชิดกันเข้าก็ต้องพยายามเก็บลูกหมากลูกนั้นไม่ให้กระเทือนถึงอีกลูกหนึ่ง ถ้าถูกอีกลูกหนึ่งก็ถือว่าเป็น หรือถ้าเก็บหมาก ๒ เกิดไปชิดกัน ๓ ลูก ก็เก็บลำบาก ความสนุกอยู่ตรงคอยจ้องจับว่าใครจะตาย
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นหมากเก็บไม่ได้จำกัดโอกาสและเวลา จะเล่นเมื่อใดก็ได้ ที่ว่างเว้นจากภารกิจประจำวัน เพื่อความเพลิดเพลินและสนุกสนาน
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ฝึกความว่องไว ไหวพริบ ความระมัดระวัง และฝึกสายตาอีกด้วย
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
ตะกร้อ เป็นลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา ๆ สำหรับเตะ สานด้วยหวายระหว่าง ๖ ถึง ๑๐ เส้น (ปัจจุบันหวายเริ่มหายากจึงได้คิดทำตะกร้อด้วยพลาสติก แต่ยังคงลักษณะเดิมที่เป็นหวายไว้)
ขนาด เส้นรอบวง ตั้งแต่ ๓๘ เซนติเมตร ถึง ๔๒ เซนติเมตร
น้ำหนัก อย่างต่ำ ๑๒๐ กรัม ไม่เกิน ๒๐๐ กรัม (เซปัคตะกร้อน้ำหนักไม่เกิน ๔๐๐ กรัม)
การเล่นตะกร้อ คนเล่นไม่จำกัดจำนวน เล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร
วิธีการเล่น
การเล่นหมู่ ผู้เล่นจะล้อมเป็นวงผู้เริ่มต้นจะใช้เท้าเตะลูกตะกร้อไปให้อีกผู้หนึ่งรับ ผู้รับจะต้องมีความว่องไวในการใช้เท้ารับและเตะส่งไปยังอีกผู้หนึ่ง จึงเรียกว่าวิธีเล่นนี้ว่าเตะตะกร้อ ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อที่จะเตะไปยังผู้ใด ถ้าผู้เล่นทั้งวงมีความสามารถเสมอกัน จะโยนและรับไม่ให้ตะกร้อตกถึงพื้นได้เป็นเวลานานมาก แต่ผู้เล่นยังไม่ชำนาญก็โยนรับไม่กี่ครั้งลูกตะกร้อก็ตกถึงพื้น
ในปัจจุบันกีฬาตะกร้อที่แข่งขันกันสำหรับคนไทย คือ ตะกร้อลอดบ่วงส่วนที่มีการแข่งขันถึงระดับนานานาชาติ คือ ตะกร้อข้ามตาข่าย ซึ่งเปลี่ยนชื่อเรียกตามกติกากีฬาแหลมทองที่เรียกว่า เซปัคตะกร้อ
ตะกร้อลอดบ่วง กีฬาประเภทหนึ่งที่มีบ่วงอยู่เบื้องสูง ผู้เล่นจะเตะตะกร้อให้โด่งเข้าไปในบ่วง สนามที่ใช้ในการแข่งขันเป็นพื้นราบกว้าง ๑๘ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๖ เมตร อยู่กลางแจ้ง จะแขวนห่วงชัย (ประกอบด้วยวงกลม ๓ ห่วง ขนาดเท่ากัน เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๐ เซนติเมตร แขวนให้สูงจากพื้น ๕.๗๕ เมตร)มีผู้เล่น ๑ ชุดไม่เกิน ๗ คน แข่งชุดละ ๔๐ นาที การเตะให้ลูกเข้าห่วงชัย ซึ่งใช้ท่าเตะ ๓๐ ท่า แต่ละท่ามีคะแนนมากน้อยตามความยากง่ายของท่าเตะ
เซปัคตะกร้อ สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ๑๓.๔๒ กว้าง ๖.๑๐ เมตร อยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ มีตาข่ายขึงตรงกลาง กว้าง ๐.๗๖ เมตร ถึง ๑.๒๒ เมตร สูงจากพื้นดิน ๑.๕๒ เมตร กลางสนามทั้ง ๒ ด้านจะมีวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๐ เซนติเมตร สำหรับยืนส่งลูก
มีผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละ ๓ คน แต่ละเกมส์มี ๑๕ คะแนน แข่งขันกัน ๒ เกมส์ ถ้าเสมอกันให้แข่งอีก ๑ เกมส์ ใครชนะถือว่าเป็นสิ้นสุด
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
ตะกร้อ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งสำหรับผู้ชาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการออกกำลังในชีวิตประจำวัน มักจะติดวงเล่นกันตามลานบ้านหรือลานวัด แต่ในปัจจุบันจัดเป็นกีฬาประเภทออกกำลังกาย เพราะมีการแข่งขันกันทั้งระดับชาติและระดับนานาประเทศ
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การเตะตะกร้อเป็นการเล่นที่ผู้เล่นได้ออกกำลังกายทุกสัดส่วนฝึกความว่องไว ความสังเกต มีไหวพริบ ทำให้มีบุคลิกภาพดี มีความสง่างามและการเล่นตะกร้อนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง
หมากเก็บ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์สำหรับเล่น คือ ก้อนหิน หรือก้อนกรวดที่มีลักษณะกลม ๆ
วิธีการเล่น
ใช้สิ่งสมมติเป็นหมาก ๕ ก้อน เริ่มต้นด้วยการทอด คือ การเทปล่อยให้หมากทั้ง ๕ กระจายไปบนพื้นกระดาน ถ้าก้อนไหนอยู่ห่างถือเป็นตัวนำและขึ้นต้นด้วยหมากหนึ่ง คือ หยิบนำลูกไว้ต่างหากโยนขึ้นไป แล้วปล่อย ๔ ลูกกระจายบนพื้น ทีละลูก และรับลูกที่โยนให้ได้ในขณะเดียวกัน ถ้าเก็บได้หมดก็ต่อหมาก ๒ หมาก ๓ หมาก ๔ ต่อไป ด้วยวิธีเล่นแบบเดียวกัน แต่ถ้าเก็บลูก ๓ ลูกพร้อมกัน เรียกว่า หมาก ๓ แล้วจึงเก็บอีก ๑ ลูก ถ้ารวมหมดเรียกว่า หมาก ๔ และลูกโยนนั้นจะตกไม่ได้ ถ้าตกนับเป็นตาย ต้องให้คนอื่นเล่นต่อไป หมากเก็บนี้มีวิธีเล่นพลิกแพลงหลายอย่าง เช่น การใช้มือซ้ายป้องและเขี่ยหรือเก็บหมากให้เข้าในมือทีละลูก ทีละ ๒ ๓ ๔ ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าก็นับเป็นตาย ยังมี "อีกาออกรัง" "รูปู" ซึ่งใช้มือซ้ายรูปต่าง ๆ ถ้าใช้นิ้วกลางและหัวแม่มือยืนพื้น นิ้วอื่นปล่อยเป็นรูปเหมือนซุ้มประตู ก็เรียกว่า "อีกาออกรัง" ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วแม่มือขดเป็นวงกลมนิ้วชี้ชี้ตรง นิ้วนอกนั้นยันพื้นเป็นรูปเหมือนรูปู ก็เรียก "รูปู" ผู้เล่นต้องเก็บหมากลงในรูปู หรือเขี่ยออกนอกรังในขณะที่รับลูกโยนให้ได้พร้อมกัน การละเล่นชนิดนี้ต้องอาศัยการคาดคะเนให้ดี ในขณะโยนลูกว่าควรจะสูงต่ำเพียงใด ในการโปรยลูกว่าถึงกำหนดต้องเก็บเท่าไร จะได้โปรยให้หมากเหล่านั้นอยู่ชิดหรือห่างกันอย่างไร เพราะถ้ามือที่เก็บไปถูกหมากอีกลูกหนึ่ง ซึ่งไม่ได้อยู่ในแม่ที่กำหนดไว้ก็ถือเป็นตายเหมือนกัน เช่น หมากหนึ่ง ถ้าไม่โปรยให้ห่างกันเกิดมีหมาก ๒ ลูกไปชิดกันเข้าก็ต้องพยายามเก็บลูกหมากลูกนั้นไม่ให้กระเทือนถึงอีกลูกหนึ่ง ถ้าถูกอีกลูกหนึ่งก็ถือว่าเป็น หรือถ้าเก็บหมาก ๒ เกิดไปชิดกัน ๓ ลูก ก็เก็บลำบาก ความสนุกอยู่ตรงคอยจ้องจับว่าใครจะตาย
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นหมากเก็บไม่ได้จำกัดโอกาสและเวลา จะเล่นเมื่อใดก็ได้ ที่ว่างเว้นจากภารกิจประจำวัน เพื่อความเพลิดเพลินและสนุกสนาน
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ฝึกความว่องไว ไหวพริบ ความระมัดระวัง และฝึกสายตาอีกด้วย
ว่าว
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
ว่าวโดยทั่วไปมีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก นำมาผ่าแล้วเหลา ให้ได้ตามที่ต้องการแล้วนำมาประกอบกันให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ผูกติดกันด้วยเชือกโยงยึดกัน เป็นโครงสร้างและปิดด้วยกระดาษชนิดบางเหนียว เช่น กระดาษสาและตกแต่งลวดลายด้วยจุด หรือดอกดวงเพื่อปิดยึดกระดาษกับเชือกให้แน่นว่าวที่นิยมกันคือว่าวจุฬา ซึ่งมีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก ๕ ชิ้น มีจำปา ๕ ดอก ทำด้วยไม้ไผ่ยาว ๘ นิ้ว เหลากลมโตประมาณ ๓ มิลลิเมตร จำปา ๑ ดอกมีจำนวนไม้ ๘ อัน มัดแน่นกับสายป่านที่ชักว่าวจุฬาอันเป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับปักเป้าว่าวปักเป้า มีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกเหลากลม ๒ ชิ้น มีเหนียงเป็นเชือกยาว ๘ เมตร ผูกปลายทั้ง ๒ ข้าง ให้หย่อนเป็นสายรูปครึ่งวงกลมเพื่อคล้องตัวว่าวจุฬาให้เสียสมดุลจนตกลงพื้นดิน
ว่าวหง่าว ทำด้วยโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษสา ลำตัวตอนบนมีรูปคล้ายอกว่าวจุฬามีเอวคอดและท่อนล่างกว่าท่อนบน ตอนส่วนหัวมีไม้ไผ่เหลาและขึงเชือกเหมือนคันธนู ส่วนขึงเชือกนี้จะเกิดเสียงเมื่อต้องลม เสียงนี้ช่วยกำจัดความชั่วร้ายได้
ปัจจุบันว่าวที่มีการเล่นกันโดยทั่วไปได้มีการพัฒนารูปแบบการเล่นเพื่อความสวยงาม โดยทำว่าวให้เป็นรูปแบบที่แปลกแตกต่างกันออกไปเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ ฯลฯ
วิธีการเล่น มีอยู่ ๓ วิธี คือ
๑. ชักว่าวให้ลอยลมปักอยู่กับที่ เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปต่าง ๆ
๒. บังคับสายชักให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการ นิยมกันที่ความสวยงาม ความสูง และบางทีก็คำนึงถึงความไพเราะของเสียงว่าวอีกด้วย
๓. การต่อสู้ทำสงครามกันบนอากาศ คือ การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าคว้ากันบนอากาศ จะจัดให้มีการแข่งขันกันที่บริเวณท้องสนามหลวงกำหนดแดนขณะทำการแข่งขัน ว่าวปักเป้าจะขึ้นอยู่ในแดนของตน ล่อหลอกให้ว่าวจุฬามาโฉบเพื่อจะลากพามายังดินแดนของตน โดยให้ว่าวปักเป้าติดตรงดอกจำปาที่ติดไว้ เมื่อติดแน่นดีแล้วว่าวจุฬาจะรีบลากรอกพามายังดินแดนของตน ขณะเดียวกันว่าวปักเป้าก็จะพยายามใช้เหนียงที่เป็นเชือกป่านคล้องตัวว่าวจุฬาให้เสียสมดุลและชักลากดึงให้ตกลงมายังดินแดนของตน ในการเล่นว่าวจุฬาลากพาว่าวปักเป้าเข้ามาทีละตัวหรือหลายตัวก็ได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างนำคู่แข่งขันมาตกยังดินแดนของตนเองได้ ก็ถือว่าเป็นฝ่ายชนะแต่ถ้าขณะชักลากพามา ว่าวปักเป้าขาดลอยไปได้ถือว่าไม่มีฝ่ายใดได้คะแนน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นว่าวต้องอาศัยกระแสลมเป็นสำคัญ กระแสลมที่แน่นอนจะช่วยให้เล่นว่าวได้สนุก จึงมักจะเล่นกันในราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ซึ่งถึงว่าเป็นช่วงที่ลมพัดแรงกระแสลมสม่ำเสมอที่เราเรียกกันว่า "ลมว่าว"
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การแข่งขันว่าวเป็นกีฬาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความสามารถของผู้ทำว่าวและผู้ชักว่าวเป็นอย่างมากต้องใช้ความประณีต ความแข็งแรง ความมีไหวพริบ และข้อสำคัญต้องอาศัยความพร้อมเพรียงด้วย
นอกจากนั้น ได้มีการนำลักษณะของว่าวมาใช้พูดเป็นสำนวนเพื่อเปรียบเทียบกับคน เช่น "ว่าวขาดลอย" หมายถึง การเคว้งคว้างไร้ที่ยึดเหนี่ยว "ว่าวติดลม" หมายถึง ว่าวที่ลอยกินลมอยู่กลางอากาศ (สำนวน) เพลินจนลืมตัว
ชักเย่อ
อุปกรณ์การเล่นและวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว (ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก) ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่
โอกาสที่เล่น
ชักเย่อเป็นการละเล่นประกอบเพลงระบำเช่นเดียวกันช่วงรำ ที่ชาวบ้านหัวสำโรงเล่นในวันสงกรานต์เช่นกัน
คุณค่า
ในอดีตกิจกรรมที่สามารถเป็นสื่อชักนำให้หนุ่มสาวได้มาพบกัน ก็คืองานบุญและการละเล่นหลังทำบุญการเล่นชักเย่อก็เช่นกัน ทำให้หนุ่มสาวได้พบหน้าเกี้ยวพาราสีและสนุกสนานด้วยกัน แต่ปัจจุบันคนหนุ่มสาวมีโอกาสพบกันโดยไม่มีข้อจำกัด
กลองยาว
อุปกรณ์และวิธีเล่น
กลองยาวเป็นกลองหน้าเดียว รูปร่างทรงยาว ด้านล่างกลึงเป็นรูปคล้ายปากแตร ส่วนบนป่องเล็กน้อยปิดด้วยหนังวัว ขึงด้วยเชือกให้ตึง กลองยาวมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เล่น ตกแต่งด้วยผ้าสีสวยงาม มีสายสะพายคล้องบ่าเพื่อสะดวกในการเดินตี
ผู้เล่นกลองยาวจะใช้มือตีทั้งสองมือ บางครั้งตีแบบโลดโผนเพื่อความสนุกสนาน ใช้กำปั้น ศอก เข่า ศีรษะ หรือต่อตัวในการตีกลอง ซึ่งต้องใช้ทักษะและความชำนาญในการตี
โอกาสที่เล่น
การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในจังหวัดนนทบุรีมีการเล่นกลองยาวตามอำเภอต่าง ๆ โดยจะเล่นในขบวนแห่นาค ขบวนทอดผ้าป่า งานรื่นเริง ปัจจุบันมีการประกวดแข่งขันการเล่นกลองยาวของแต่ละอำเภอในงานต่าง ๆ เช่น ในวันสงกรานต์เป็นต้น
คุณค่า
การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นที่แสดงความพร้อมเพรียงสามัคคีในหมู่คณะ เนื่องจากเป็นการเล่นเป็นกลุ่มต้องการเสียง หรือจังหวะที่พร้อมกัน ให้ความสนุกสนานรื่นเริงทั้งผู้เล่นและผู้ชม
คำทาย(โจ๊กปริศนา)
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
ว่าวโดยทั่วไปมีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก นำมาผ่าแล้วเหลา ให้ได้ตามที่ต้องการแล้วนำมาประกอบกันให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ผูกติดกันด้วยเชือกโยงยึดกัน เป็นโครงสร้างและปิดด้วยกระดาษชนิดบางเหนียว เช่น กระดาษสาและตกแต่งลวดลายด้วยจุด หรือดอกดวงเพื่อปิดยึดกระดาษกับเชือกให้แน่นว่าวที่นิยมกันคือว่าวจุฬา ซึ่งมีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก ๕ ชิ้น มีจำปา ๕ ดอก ทำด้วยไม้ไผ่ยาว ๘ นิ้ว เหลากลมโตประมาณ ๓ มิลลิเมตร จำปา ๑ ดอกมีจำนวนไม้ ๘ อัน มัดแน่นกับสายป่านที่ชักว่าวจุฬาอันเป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับปักเป้าว่าวปักเป้า มีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกเหลากลม ๒ ชิ้น มีเหนียงเป็นเชือกยาว ๘ เมตร ผูกปลายทั้ง ๒ ข้าง ให้หย่อนเป็นสายรูปครึ่งวงกลมเพื่อคล้องตัวว่าวจุฬาให้เสียสมดุลจนตกลงพื้นดิน
ว่าวหง่าว ทำด้วยโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษสา ลำตัวตอนบนมีรูปคล้ายอกว่าวจุฬามีเอวคอดและท่อนล่างกว่าท่อนบน ตอนส่วนหัวมีไม้ไผ่เหลาและขึงเชือกเหมือนคันธนู ส่วนขึงเชือกนี้จะเกิดเสียงเมื่อต้องลม เสียงนี้ช่วยกำจัดความชั่วร้ายได้
ปัจจุบันว่าวที่มีการเล่นกันโดยทั่วไปได้มีการพัฒนารูปแบบการเล่นเพื่อความสวยงาม โดยทำว่าวให้เป็นรูปแบบที่แปลกแตกต่างกันออกไปเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ ฯลฯ
วิธีการเล่น มีอยู่ ๓ วิธี คือ
๑. ชักว่าวให้ลอยลมปักอยู่กับที่ เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปต่าง ๆ
๒. บังคับสายชักให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการ นิยมกันที่ความสวยงาม ความสูง และบางทีก็คำนึงถึงความไพเราะของเสียงว่าวอีกด้วย
๓. การต่อสู้ทำสงครามกันบนอากาศ คือ การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าคว้ากันบนอากาศ จะจัดให้มีการแข่งขันกันที่บริเวณท้องสนามหลวงกำหนดแดนขณะทำการแข่งขัน ว่าวปักเป้าจะขึ้นอยู่ในแดนของตน ล่อหลอกให้ว่าวจุฬามาโฉบเพื่อจะลากพามายังดินแดนของตน โดยให้ว่าวปักเป้าติดตรงดอกจำปาที่ติดไว้ เมื่อติดแน่นดีแล้วว่าวจุฬาจะรีบลากรอกพามายังดินแดนของตน ขณะเดียวกันว่าวปักเป้าก็จะพยายามใช้เหนียงที่เป็นเชือกป่านคล้องตัวว่าวจุฬาให้เสียสมดุลและชักลากดึงให้ตกลงมายังดินแดนของตน ในการเล่นว่าวจุฬาลากพาว่าวปักเป้าเข้ามาทีละตัวหรือหลายตัวก็ได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างนำคู่แข่งขันมาตกยังดินแดนของตนเองได้ ก็ถือว่าเป็นฝ่ายชนะแต่ถ้าขณะชักลากพามา ว่าวปักเป้าขาดลอยไปได้ถือว่าไม่มีฝ่ายใดได้คะแนน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นว่าวต้องอาศัยกระแสลมเป็นสำคัญ กระแสลมที่แน่นอนจะช่วยให้เล่นว่าวได้สนุก จึงมักจะเล่นกันในราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ซึ่งถึงว่าเป็นช่วงที่ลมพัดแรงกระแสลมสม่ำเสมอที่เราเรียกกันว่า "ลมว่าว"
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การแข่งขันว่าวเป็นกีฬาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความสามารถของผู้ทำว่าวและผู้ชักว่าวเป็นอย่างมากต้องใช้ความประณีต ความแข็งแรง ความมีไหวพริบ และข้อสำคัญต้องอาศัยความพร้อมเพรียงด้วย
นอกจากนั้น ได้มีการนำลักษณะของว่าวมาใช้พูดเป็นสำนวนเพื่อเปรียบเทียบกับคน เช่น "ว่าวขาดลอย" หมายถึง การเคว้งคว้างไร้ที่ยึดเหนี่ยว "ว่าวติดลม" หมายถึง ว่าวที่ลอยกินลมอยู่กลางอากาศ (สำนวน) เพลินจนลืมตัว
ชักเย่อ
อุปกรณ์การเล่นและวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว (ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก) ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่
โอกาสที่เล่น
ชักเย่อเป็นการละเล่นประกอบเพลงระบำเช่นเดียวกันช่วงรำ ที่ชาวบ้านหัวสำโรงเล่นในวันสงกรานต์เช่นกัน
คุณค่า
ในอดีตกิจกรรมที่สามารถเป็นสื่อชักนำให้หนุ่มสาวได้มาพบกัน ก็คืองานบุญและการละเล่นหลังทำบุญการเล่นชักเย่อก็เช่นกัน ทำให้หนุ่มสาวได้พบหน้าเกี้ยวพาราสีและสนุกสนานด้วยกัน แต่ปัจจุบันคนหนุ่มสาวมีโอกาสพบกันโดยไม่มีข้อจำกัด
กลองยาว
อุปกรณ์และวิธีเล่น
กลองยาวเป็นกลองหน้าเดียว รูปร่างทรงยาว ด้านล่างกลึงเป็นรูปคล้ายปากแตร ส่วนบนป่องเล็กน้อยปิดด้วยหนังวัว ขึงด้วยเชือกให้ตึง กลองยาวมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เล่น ตกแต่งด้วยผ้าสีสวยงาม มีสายสะพายคล้องบ่าเพื่อสะดวกในการเดินตี
ผู้เล่นกลองยาวจะใช้มือตีทั้งสองมือ บางครั้งตีแบบโลดโผนเพื่อความสนุกสนาน ใช้กำปั้น ศอก เข่า ศีรษะ หรือต่อตัวในการตีกลอง ซึ่งต้องใช้ทักษะและความชำนาญในการตี
โอกาสที่เล่น
การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในจังหวัดนนทบุรีมีการเล่นกลองยาวตามอำเภอต่าง ๆ โดยจะเล่นในขบวนแห่นาค ขบวนทอดผ้าป่า งานรื่นเริง ปัจจุบันมีการประกวดแข่งขันการเล่นกลองยาวของแต่ละอำเภอในงานต่าง ๆ เช่น ในวันสงกรานต์เป็นต้น
คุณค่า
การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นที่แสดงความพร้อมเพรียงสามัคคีในหมู่คณะ เนื่องจากเป็นการเล่นเป็นกลุ่มต้องการเสียง หรือจังหวะที่พร้อมกัน ให้ความสนุกสนานรื่นเริงทั้งผู้เล่นและผู้ชม
คำทาย(โจ๊กปริศนา)
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
กระดาษขนาดใหญ่ พอมองเห็นกันทั่วสำหรับเขียนคำทายโจ๊ก กล่องเล็กๆ ๑ ใบ กระดิ่ง หรือ กริ่ง หรือนกหวีด อย่างใดอย่างหนึ่ง เครื่องขยายเสียงเหมาะสำหรับการทายที่มีจำนวนคนมาก ๆ เพราะการทายแต่ละครั้งควรให้ทุกคนได้ยินทั่ว ๆ กัน และพร้อม ๆ กัน เพื่อความรู้ด้วยเครื่องขยายเสียงดังกล่าว ควรจะมีไมโครโฟน ๒ ตัว สำหรับผู้ทาย ๑ ตัว สำหรับนายโจ๊ก ๑ ตัว ถ้าบริเวณเงียบสงบจริง ๆ เครื่องขยายเสียงก็ไม่มีความจำเป็น เครื่องบอกสัญญาณต่าง ๆ เช่น นกหวีดนายโจ๊กมีไว้สำหรับเป่า เมื่อมีคนเริ่มทาย พอผู้ทายเรียกชื่อโจ๊กที่บอกหมายเลขเอาไว้เมื่อไร นายโจ๊กจะเป่านกหวีด เพื่อแสดงว่านายโจ๊กกำลังฟังคำตอบอยู่แล้ว ในสมัยแรก ๆ ใช้ระฆังหรือกระดิ่ง ปัจจุบันใช้กริ่งไฟฟ้าแทน ระฆังหรือกริ่งนี้มีไว้สำหรับตีหรือกดบอกสัญญาณ
ว่า ตอบถูกทุกขั้นตอน
วิธีการเล่น
การทายโจ๊กต้องมีสถานที่สงบ มีแสงสว่างเท่าที่สามารถอ่านตัวหนังสือได้ชัดเจน ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร มีม้านั่งสำหรับคนทาย ๕ แถว ๆ ละ ๑๐ ตัว มีลวดสำหรับขึงเหมือนราวตากผ้า เพื่อติดกระดาษแผ่นโจ๊กบนเส้นลวดนั้น แล้วยึดด้วยไม้หนีบไม่ให้ปลิว ผู้ทายโจ๊กหรือเรียกว่า คนออกโจ๊ก จะนำกระดาษที่เขียนโจ๊กไว้แล้วประมาณ ๑๐-๑๕ แผ่นเขียนเป็นโคลงมากกว่าเป็นกลอนหรือคำประพันธ์ชนิดอื่น มาขึงติดกับราวเชือก แล้วเป่านกหวีดให้สัญญาณให้คนเริ่มทายได้ โดยอ่านโจ๊กแผ่นที่จะทายทีละบาท จนหมดโจ๊กข้อนั้น ถ้าทายถูกหมด คนออกโจ๊กจะเป่านกหวีด หรือสั่นกระดิ่ง ให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ลูกอม ถ้าทายไม่ถูก คนออกโจ๊กจะตีกลองเบา ๆ ก็แสดงว่า คำตอบเกือบถูก แต่ถ้าตีกลองดัง หรือเร็ว แสดงว่าทาย
ผิดมาก ต้องพยายามเล่นใหม่ สำหรับบอกสัญญาณว่า "ผิด" ปรกติจะตี ๒ ที (ตุ๊ง-ตุ๊ง) ต่อมาก็พัฒนาเป็นตีเท่ากับจำนวนคำตอบที่ผิด เช่น ผิด ๑ บรรทัด ตี ๑ ที ผิด ๓ บรรทัดตี ๓ ที เป็นต้น คิดว่าจำนวนครั้งที่ตีไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญมากนัก
เวลาที่เล่น
เดิมนิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ งานทอดกฐิน แต่ปัจจุบันนิยมเล่นในงานศพ เพื่อเป็นเพื่อนศพ
แนวคิด
การเล่นทายโจ๊กนั้นเป็นฝึกภาษาให้มีความรู้ด้านวรรณคดี รอบรู้เรื่องต่าง ๆ และนำมาผสมผสานเพื่อทายโจ๊ก ผู้ทายถูกคือผู้มีปัญญา ไหวพริบดี และฝึกให้ผู้เล่นใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ไม่มั่วสุมอบายมุข
ตี่จับ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
การเล่นตี่จับต้องแบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กัน มีเส้นแบ่งเขตตรงกลาง ต้องตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายรุกไปก่อน คนหนึ่งที่เป็นฝ่ายรุกจะเริ่มข้ามเขต พอเข้าเขตฝ่ายตรงข้ามก็ต้องร้อง "ตี่" ไม่ให้ขาดเสียง แล้ววิ่งเอามือแตะตัวคนใดคนหนึ่งในฝ่ายรับ แต่จะหยุดหายใจไม่ได้ ในขณะที่ร้อง "ตี่" นั้น ฝ่ายรับก็จะพยายามจับคนที่ร้อง "ตี่" ไว้ ถ้าคนร้อง "ตี่" เห็นว่าจะสู้ไม่ได้หรือจะต้องถอนหายใจ ต้องรีบถอยมาให้พ้นเส้นแบ่งเขต ถ้าถอยไม่ทันผู้ร้อง "ตี่" หยุดถอนหายใจก็จะต้องถูกจับตัวไว้เป็นเชลย แต่ถ้าคนที่ร้อง "ตี่" แตะตัวฝ่ายรับได้ คนที่ถูกแตะก็เป็นเชลยฝ่ายนี้ ฝ่ายที่ได้เชลยก็จะส่งคนร้อง "ตี่" ไปแตะคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอีก ถ้ายังจับไม่ได้ก็ผลัดกันรุกคนละครั้ง จนกว่าจะกวาดเชลยได้หมดก็ขึ้นตาใหม่
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
มักจะเล่นในเวลาว่างจากภารกิจทั้งปวง เช่น เวลาพักหลังเลิกเรียน หรือภายหลังจากทำงานบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การเล่นตี่จับเป็นการฝึกการใช้กำลัง ฝึกความว่องไว และความอดทน นอกเหนือไปจากความสนุกสนานเพลิดเพลิน
กระดาษขนาดใหญ่ พอมองเห็นกันทั่วสำหรับเขียนคำทายโจ๊ก กล่องเล็กๆ ๑ ใบ กระดิ่ง หรือ กริ่ง หรือนกหวีด อย่างใดอย่างหนึ่ง เครื่องขยายเสียงเหมาะสำหรับการทายที่มีจำนวนคนมาก ๆ เพราะการทายแต่ละครั้งควรให้ทุกคนได้ยินทั่ว ๆ กัน และพร้อม ๆ กัน เพื่อความรู้ด้วยเครื่องขยายเสียงดังกล่าว ควรจะมีไมโครโฟน ๒ ตัว สำหรับผู้ทาย ๑ ตัว สำหรับนายโจ๊ก ๑ ตัว ถ้าบริเวณเงียบสงบจริง ๆ เครื่องขยายเสียงก็ไม่มีความจำเป็น เครื่องบอกสัญญาณต่าง ๆ เช่น นกหวีดนายโจ๊กมีไว้สำหรับเป่า เมื่อมีคนเริ่มทาย พอผู้ทายเรียกชื่อโจ๊กที่บอกหมายเลขเอาไว้เมื่อไร นายโจ๊กจะเป่านกหวีด เพื่อแสดงว่านายโจ๊กกำลังฟังคำตอบอยู่แล้ว ในสมัยแรก ๆ ใช้ระฆังหรือกระดิ่ง ปัจจุบันใช้กริ่งไฟฟ้าแทน ระฆังหรือกริ่งนี้มีไว้สำหรับตีหรือกดบอกสัญญาณ
ว่า ตอบถูกทุกขั้นตอน
วิธีการเล่น
การทายโจ๊กต้องมีสถานที่สงบ มีแสงสว่างเท่าที่สามารถอ่านตัวหนังสือได้ชัดเจน ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร มีม้านั่งสำหรับคนทาย ๕ แถว ๆ ละ ๑๐ ตัว มีลวดสำหรับขึงเหมือนราวตากผ้า เพื่อติดกระดาษแผ่นโจ๊กบนเส้นลวดนั้น แล้วยึดด้วยไม้หนีบไม่ให้ปลิว ผู้ทายโจ๊กหรือเรียกว่า คนออกโจ๊ก จะนำกระดาษที่เขียนโจ๊กไว้แล้วประมาณ ๑๐-๑๕ แผ่นเขียนเป็นโคลงมากกว่าเป็นกลอนหรือคำประพันธ์ชนิดอื่น มาขึงติดกับราวเชือก แล้วเป่านกหวีดให้สัญญาณให้คนเริ่มทายได้ โดยอ่านโจ๊กแผ่นที่จะทายทีละบาท จนหมดโจ๊กข้อนั้น ถ้าทายถูกหมด คนออกโจ๊กจะเป่านกหวีด หรือสั่นกระดิ่ง ให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ลูกอม ถ้าทายไม่ถูก คนออกโจ๊กจะตีกลองเบา ๆ ก็แสดงว่า คำตอบเกือบถูก แต่ถ้าตีกลองดัง หรือเร็ว แสดงว่าทาย
ผิดมาก ต้องพยายามเล่นใหม่ สำหรับบอกสัญญาณว่า "ผิด" ปรกติจะตี ๒ ที (ตุ๊ง-ตุ๊ง) ต่อมาก็พัฒนาเป็นตีเท่ากับจำนวนคำตอบที่ผิด เช่น ผิด ๑ บรรทัด ตี ๑ ที ผิด ๓ บรรทัดตี ๓ ที เป็นต้น คิดว่าจำนวนครั้งที่ตีไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญมากนัก
เวลาที่เล่น
เดิมนิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ งานทอดกฐิน แต่ปัจจุบันนิยมเล่นในงานศพ เพื่อเป็นเพื่อนศพ
แนวคิด
การเล่นทายโจ๊กนั้นเป็นฝึกภาษาให้มีความรู้ด้านวรรณคดี รอบรู้เรื่องต่าง ๆ และนำมาผสมผสานเพื่อทายโจ๊ก ผู้ทายถูกคือผู้มีปัญญา ไหวพริบดี และฝึกให้ผู้เล่นใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ไม่มั่วสุมอบายมุข
ตี่จับ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
การเล่นตี่จับต้องแบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กัน มีเส้นแบ่งเขตตรงกลาง ต้องตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายรุกไปก่อน คนหนึ่งที่เป็นฝ่ายรุกจะเริ่มข้ามเขต พอเข้าเขตฝ่ายตรงข้ามก็ต้องร้อง "ตี่" ไม่ให้ขาดเสียง แล้ววิ่งเอามือแตะตัวคนใดคนหนึ่งในฝ่ายรับ แต่จะหยุดหายใจไม่ได้ ในขณะที่ร้อง "ตี่" นั้น ฝ่ายรับก็จะพยายามจับคนที่ร้อง "ตี่" ไว้ ถ้าคนร้อง "ตี่" เห็นว่าจะสู้ไม่ได้หรือจะต้องถอนหายใจ ต้องรีบถอยมาให้พ้นเส้นแบ่งเขต ถ้าถอยไม่ทันผู้ร้อง "ตี่" หยุดถอนหายใจก็จะต้องถูกจับตัวไว้เป็นเชลย แต่ถ้าคนที่ร้อง "ตี่" แตะตัวฝ่ายรับได้ คนที่ถูกแตะก็เป็นเชลยฝ่ายนี้ ฝ่ายที่ได้เชลยก็จะส่งคนร้อง "ตี่" ไปแตะคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอีก ถ้ายังจับไม่ได้ก็ผลัดกันรุกคนละครั้ง จนกว่าจะกวาดเชลยได้หมดก็ขึ้นตาใหม่
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
มักจะเล่นในเวลาว่างจากภารกิจทั้งปวง เช่น เวลาพักหลังเลิกเรียน หรือภายหลังจากทำงานบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การเล่นตี่จับเป็นการฝึกการใช้กำลัง ฝึกความว่องไว และความอดทน นอกเหนือไปจากความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น